เชียงคาน เมืองเลย
เชียงคานเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเลย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง เคยเป็นราชธานีหรือเมืองหลวงของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตประชาชนลาว หรือราชอาณาจักรลาวมาก่อน เมืองเชียงคานเก่า หรือเมืองสานะคาม (ชนะสงคราม) ซึ่งเป็นเมืองที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ทางยุทธศาสตร์สมัยราชอาณาจักรล้านช้าง ถูกก่อสร้าง โดย ขุนคาม โอรสของขุนคัวแห่งอาณาจักรล้านช้าง เมื่อประมาณปีพ.ศ. 1400 ต่อมาประมาณปีพ.ศ. 2250 ทางเวียงจันทร์ได้ตั้งเมืองเชียงคานเดิม ซึ่งอยู่ฝั่ง
ซ้ายของแม่น้ำโขงเป็นเมืองหน้าด่าน พ.ศ. 2320 พระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับพระสุรสีห์ ยกทัพไปตีกรุงเวียงจันทร์ ตีเวียงจันทร์ได้จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกต กลับมายังกรุงธนบุรี แล้วได้รวมอาณาจักรล้านช้างเข้าด้วยกันและให้เป็นประเทศราชของไทย แล้วได้กวาดต้อนผู้คนมาอยู่เมืองปากเหืองมากขึ้น แล้วโปรด

ครั้นต่อมา เห็นว่าชัยภูมิเมืองเชียงคานใหม่ (เมืองปากเหือง) ไม่เหมาะสม ผู้คนส่วนใหญ่จึงอพยพไปอยู่ที่บ้านท่านาจันทร์ซึ่งใกล้กับที่ตั้งของอำเภอเชียงคานปัจจุบัน แล้วตั้งชื่อใหม่ว่า เมืองใหม่เชียงคาน ต่อมาไทยได้เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศส ทำให้เมืองปากเหืองตกเป็นของฝรั่งเศส คนไทยที่อยู่เมืองปากเหืองจึงอพยพมาอยู่เมืองใหม่เชียงคาน หรืออำเภอเชียงคานปัจจุบันโดยสิ้นเชิง “แล้วได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นเมืองเชียงคานใหม่” ได้ตั้งที่ทำการอยู่บริเวณวัดธาตุ เรียกว่าศาลาเมืองเชียงคาน ต่อมาได้ย้ายที่อยู่บริเวณวัดโพนชัย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2452 เมืองเชียงคานซึ่งมีพระยาศรีอรรคฮาด (ทองดี ศรีประเสริฐ) ได้รับตำแหน่งนาย อำเภอเชียงคาน คนแรก ต่อมาปี พ.ศ. 2484 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเชียงคานมาอยู่ ณ ที่อยู่ปัจจุบันตราบเท่าทุกวันนี้
![]() |
ทำบุญตักบาตรในตอนเช้าที่เชียงคาน |
เหมือนเวลาจะหมุนช้าลง เมื่อมาเยือน เชียงคาน
คงไม่ใช่คำกล่าวอ้างที่ผิดนัก เพราะ เชียงคาน อำเภอเล็ก ๆ ในจังหวัดเลย ยังคงอารยธรรมแห่งลุ่มน้ำโขง ที่ผสม ผสานกับความทันสมัยของโลกปัจจุบันได้อย่างลงตัว ความเงียบสงบของเมือง ความน่ารักของผู้คน ที่ยังดำรงวิถีชีวิตแบบราบเรียบ และกลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อย่างแนบแน่นดีเยี่ยม รวมไปถึงทัศนียภาพพริมฝั่งโขงที่สวยงาม คงเป็นเอกลักษณ์สำคัญที่ทำให้นักเดินทางมักแวะเวียนไปต้องมนต์เสน่ห์ ณ เชียงคาน แต่่จริง ๆ แล้ว เชียงคาน ยังมีอะไรดี ๆ เด็ด ๆ รอให้คนที่ชื่นชอบวิถีชีวิตท้องถิ่น รักความงามของอดีตกาล ไปสัมผัสถึงความเป็น เชียงคาน ให้เห็นด้วยตา ซึ่งวันนี้กระปุกดอทคอมก็พร้อมจะพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จักกับ เชียงคาน ให้มากขึ้นอีก ถ้าใครพร้อมแล้วก็ตามเราเข้าไปเที่ยว เชียงคานเลย
สำหรับแหล่งท่องเที่ยวเที่ยวแจ่ม ๆ ของ เชียงคาน ได้แก่

วัดท่าแขก เป็นวัดเก่าแก่โบราณ อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ห่างจากอำเภอเชียงคาน 2 กิโลเมตร ก่อนถึงหมู่บ้านน้อย และแก่งคุดคู้ ปัจจุบันเป็น วัดธรรมยุติ ภายในโบสถ์มีพระพุทธรูป 3 องค์ สกัดจากหินแกรนิตทั้งก้อน หน้าตักกว้าง 2 ศอก เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์มาก
พระใหญ่ภูคกงิ้ว เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พระพุทธนวมินทรมงคลลีลา ทวินคราภิรักษ์ ตั้งอยู่ที่ภูคกงิ้ว บ้านท่าดีหมี ตำบลปากตม ประดิษฐานอยู่บนเนินเขาบริเวณปากลำน้ำเหืองจรดกับแม่น้ำโขง เป็นพระพุทธรูปปางลีลาประทานพร หล่อด้วยไฟเบอร์ผสมเรซิ่นสีทองทั้งองค์ สูง 19 เมตรตัวฐานกว้าง 7.2 เมตร สร้างขึ้นโดยกองทัพภาคที่ 2 และประชาชน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครบ 6 รอบ เมื่อ พ.ศ.2542 และในมหามงคลแห่งราชพิธิราชาภิเษก ครบ 50 ปี พ.ศ. 2543 สร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2544 บริเวณโดยรอบสามารถชมทัศนียภาพที่สวยงามของแม่น้ำโขง และประเทศลาวได้ การเดินทาง จากตัวเมืองเลยทางหลวงหมายเลข 201 (เลย-เชียงคาน) ไป 47 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายบริเวณสามแยกตรงไปจนถึงบ้านท่าดีหมี่ แล้วเลี้ยวขวาที่โรงเรียนบ้านท่าดีหมี่ ไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร
แก่งคุดคู้ ที่เชียงคาน |
แก่งคุดคู้ เป็นแก่งหินใหญ่ขวางอยู่กลางลำน้ำโขง ห่างจากตัวอำเภอเชียงคานประมาณ 3 กิโลเมตร ประกอบด้วย หินก้อนใหญ่ ๆ เป็นจำนวนมาก จากการที่หินเหล่านี้อยู่ใต้น้ำเป็นเวลานาน ทำให้หินเหล่านี้มีสีสัน ไปต่าง ๆ ตัวแก่งกว้างใหญ่เกือบจรดสองฝั่งแม่น้ำโขง มีกระแสน้ำไหลผ่านไปเพียงช่องแคบ ๆ ใกล้ฝั่งไทยเท่านั้นเอง ซึ่งกระแสน้ำเชี่ยวกราก เวลาที่เหมาะจะชมแก่งคุดคู้ที่สุดคือ เดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นเวลาที่น้ำแห้ง มองเห็นเกาะแก่งชัดเจน บริเวณแก่งมีร้านอาหารจำหน่ายมากมาย
การเดินทางมาเชียงคาน
รถยนต์ เส้นทางที่ 1 : จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ผ่านตัวเมืองสระบุรี ตรงเข้าทางหลวงหมายเลข 21 ผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 203 ผ่านอำเภอหล่มสัก หล่มเก่า เข้าเขตจังหวัดเลยที่ อำเภอด่านซ้าย อำเภอภูเรือ ถึงตัวเมืองเลยใช้เวลาเดินทางประมาณ 7-8 ชั่วโมง
เส้นทางที่ 2 : จากสระบุรี ใช้ทางหลวงหมายเลข 2 มิตรภาพ ผ่านจังหวัดนครราชสีมา ถึงจังหวัดขอนแก่น แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 12 ผ่านอำเภอชุมแพ แล้วใช้เส้นทางหมายเลข 201 เข้าเขตจังหวัดเลยที่อำเภอภูกระดึง อำเภอวังสะพุง ถึงตัวเมืองเลยได้เช่นเดียวกัน
รถไฟ
จังหวัดเลยไม่มีสถานีรถไฟ นักท่องเที่ยวต้องเดินทางไปลงที่สถานีอุดรธานี และต่อรถโดยสารประจำทางไป จังหวัดเลยได้ สอบถามตารางรถไฟได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร.1690, 0 2233 7010, 0 2223 7020 หรือ สถานีอุดรธานี โทร. 0 4222 2061 www.railway.co.th รถโดยสารประจำทางบริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารประจำทางวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-เลย ทุกวัน ทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ ใช้เวลาประมาณ 10 ชั่วโมง รายละเอียดสอบถามที่สถานีขนส่ง หมอชิต 2 โทร.0 2936 2852-66
ขอบคุณขอมูลบางส่วนจาก http://travel.kapook.com/